เป็นความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เกิดจากกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสบริเวณก้นใกล้กับสะโพกไปกดทับเส้นประสาทไซอาติกที่อยู่ใกล้กัน ส่งผลให้รู้สึกปวดบริเวณก้นร้าวไปยังขา หากมีอาการรุนแรงมาก อาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการนั่ง เช่น นั่งทำงาน หรือขับรถ เป็นต้น
กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
- ปวดบริเวณสะโพกและร้าวลงขาที่หาสาเหตุไม่เจอ
- ปวดสะโพก เกิดขึ้นขณะเปลี่ยนท่าจากนั่งเป็นยืน หรือขณะนั่งนาน หรือขณะนอนพลิกตัว
- ขาอ่อนแรง เมื่อยง่าย เมื่อเดินระยะทางไกล หรือเดินขึ้นที่สูง
- ปวดขณะนอนหลับ หาท่านอนที่สบายไม่ได้ ทำให้มีผลต่อการนอนไม่เต็มอิ่ม
- นั่งนานแล้วปวดก้น ต้นขา หาท่านั่งสบายได้ลำบาก ต้องนั่งตะแคงตัว
- วิ่งออกกำลังกายหรือเล่นโยคะแล้วยิ่งปวดสะโพกร้าวลงข้างขา
สาเหตุของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
โดยปกติ กลุ่มอาการนี้มักเกิดจากการอักเสบ การบาดเจ็บ การเกิดแผลเป็น หรือภาวะเลือดออกที่กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส อันเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
เคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่างผิดท่า
ออกกำลังกายมากเกินไป
วิ่งหรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวขาอย่างต่อเนื่อง
นั่งเป็นเวลานาน
ยกของหนัก
เกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายส่วนล่าง เช่น ลื่นล้ม ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นต้น
การรักษากลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงนักรักษาตัวเองแบบประคับประคองจนอาการหายไปเอง โดยผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้
หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจกระตุ้นให้อาการปวดกำเริบ
ประคบเย็นและประคบร้อนบริเวณก้นและขาทุก 2-3 ชั่วโมง โดยขั้นแรกให้ห่อเจลเก็บความเย็นด้วยผ้าแล้วประคบบริเวณที่ปวด 15-20 นาที จากนั้นจึงใช้ถุงเก็บความร้อนประคบต่อ 15-20 นาที
รับประทานยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน เป็นต้น
หากปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นต้องรับการรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้
การออกกำลังกาย ออกกำลังกายและยืดกล้ามเนื้อด้วยท่าต่าง ๆ ซึ่งท่ายืดกล้ามเนื้อขั้นพื้นฐานที่สามารถทำได้ มีขั้นตอนดังนี้
นอนราบกับพื้นแล้วชันเข่าทั้ง 2 ข้างเป็นท่าเตรียมพร้อม
ยกข้อเท้าซ้ายขึ้นแล้ววางพาดไว้บนเข่าขวา
ใช้มือดึงเข่าขวาเข้าหาอก แล้วค้างไว้ 5 วินาที
ค่อย ๆ วางขากลับไปยังท่าเตรียมพร้อม
สลับมายกข้อเท้าขวาในท่าเดียวกัน
ทำซ้ำเช่นนี้อีก 1 รอบ
การใช้ยารักษา ฉีดยาที่มีฤทธิ์ช่วยให้กล้ามเนื้อชา หรือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ
การกระตุ้นเส้นประสาท กระตุ้นเส้นประสาทผ่านทางผิวหนังเพื่อลดความเจ็บปวด (Transcutaneous Electrical Nerve Stimulator) หรือ TENS โดยใช้กระแสไฟฟ้ารบกวนการทำงานของสัญญาณในสมองที่กระตุ้นให้รู้สึกเจ็บปวด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดน้อยลง
การผ่าตัด บางกรณีแพทย์อาจต้องผ่าตัดเพื่อแก้ไขการกดทับที่เส้นประสาท
# หากคุณไม่ต้องการ ฉีดสเตียรอยด์
.
เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ...และสะดวกในการสอบถามอาการแบบส่วนตัว
กรุณาติดต่อเข้ามาใน..สถาบันค่ะ
.
.
ปรึกษาฟรี คุณ ภาวิตา
065-424-5879
.
■■สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
https://lin.ee/eZXEnG6